วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จังหวัดยโสธร


จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมจังตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป
ทั้งนี้ จังหวัดยโสธ เดิมเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านสิงห์ท่า ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกฐานะเป็นเมืองยโสธร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ถึง พ.ศ. 2443 รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานีจนถึง พ.ศ. 2450 เมื่อยุบบริเวณอุบลราชธานี จัดตั้งเป็นจังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี กระทั่งมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว
ปัจจุบัน จังหวัดยโสธรอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 128 เมตร ตั้งศาลากลางจังหวัดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ณ ละติจูด 15° 47´.6 เหนือ ลองจิจูด 104° 08´.7 ตะวันออก ประกอบด้วยอำเภอ 9 อำเภอ, ตำบล 78 ตำบล และหมู่บ้าน 835 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,162 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี, ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดห่างจากจังหวัดนครราชสีมา 340กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีภูเขาขนาดเล็กเป็นบางบริเวณในตอนเหนือของจังหวัด ด้านตะวันตกของจังหวัดมีลำน้ำยังไหลผ่านจากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่แม่น้ำชี

ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดยโสธร มีการทำนา ปลูกปอแก้ว มันสำปะหลัง และถั่วลิสง มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ พระธาตุยโสธร พระธาตุก่องข้าวน้อย สวนสาธารณะพญาแกน หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน ซากเมืองโบราณบ้านสงเปือย ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย กู่จาน ภูถ้ำพระ เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน รอยพระพุทธบาทจำลอง

สัญลักษณ์เมืองยโสธร


  • ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบานเป็นการแสดงถึงการที่จังหวัดยโสธรแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nympheas lotus)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระบาก (Anisoptera costata)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ


สถานที่สำคัญในจังหวัด
วัดมหาธาตุ
      ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือพระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก 
   
    
      พระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ 

พระธาตุก่องข้าวน้อย

      พระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์สมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร ห่างจากตัวจังหวัด 9 ก.ม. ไปตามทางหลวง หมายเลย 23 (ยโสธร - อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23 - 25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงจะแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้เป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน เป็นส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5 x 5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือน 5 จะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ ฝนจะแล้งในปีนั้น ธาตุก่องข้าวน้อย มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานอื่น ที่มักเกี่ยวพันธ์กับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดามาส่งข้าวสาย เกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เค้ากระทำมาตุฆาต ด้วยสาเหตุเพียงแค่ว่า ข้าวที่เอามาส่ง ดูจะน้อยไป ไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมด จึงได้สติ คิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ขออโหสิกรรมและล้างบาป ที่ตนกระทำมาตุฆาต นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์และภาชนะเขียนสีแบบบ้านเชียงอีกด้วย




บ้านทุ่งนางโอก

      บ้านทุ่งนางโอก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 8 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2169 (ยโสธร-กุดชุม) บ้านทุ่งนาโอกมีชื่อเสียงในการจักสานไม้ไผ่ เพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และของที่ระลึก



หมู่บ้านนาสะไมย
      ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านทุ่งนางโอก มีชื่อเสียงในเรื่องการจักสานไม้ไผ่และการแกะสลักเกวียนจำลองที่ปราณีตงดงาม



ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า
      ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า บริเวณคุ้มบ้านสิงห์ท่า เป็นย่านเมืองเก่าที่ปรากฏนามอยู่ในประวัติศาสตร์การก่อตั้งเมืองปัจจุบัน บริเวณนี้ยังคงมีตึกแถวโบราณที่มีรูปทรงและลวดลายงดงามและได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง





หมู่บ้านทำหมอนขิดบ้านศรีฐาน



หมู่บ้านทำหมอนขิดบ้านศรีฐาน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการทำหมอนขิดซึ่งการทำหมอนขิดเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของชาวบ้านศรีฐาน เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้านศรีฐาน คือ หมอนขวานผ้าขิด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัดยโสธร และมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีการพัฒนารูปแบบการผลิตอย่างต่อเนื่อง นอกจากหมอนขวานแล้วยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่างเช่น ที่นอนพับ ที่นอนระนาด หมอนกระดูก หมอนรองคอ หมอนผลไม้ เบาะรองนั่ง นอกจากการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แล้วยังมีการพัฒนาด้านการตลาด การสร้างเครือข่ายการตลาด การบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีการจัดนิทรรศการและจำหน่ายสินค้าOTOPที่เมืองทองธานี และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ทำให้ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมอนขิดมีมูลค่าสูงขึ้นทุกปี



ภูถ้ำพระ
      ภูถ้ำพระ สถานที่ท่องเที่ยว อ.กุดชุม จ. ยโสธร บริเวณลานหินกว้างมาก ขึ้นไปประมาณ 1 ก.ม. เป็นทางเล็กๆๆ มีหินตะปุ่มตะป่ำ 




แหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือย

      บ้านสงเปือย ตั้งอยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว ห่างจากตัวเมืองยโสธร 25 กิโลเมตร ตามเส้นทาง ยโสธร-คำเขื่อนแก้ว-อุบลราชธานี โดยทางหลวงหมายเลข 23 จะมีทางแยกขวาเข้าไปอีกราว 10 กิโลเมตร สิ่งสำคัญและปูชนียสถานที่น่าสนใจ มีดังนี้

   -   พระพุทธรูปใหญ่

          เป็นพระประธานในอุโบสถวัดสงเปือย มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 8 เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยอิฐ ปูน มีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี เป็นที่สักการะของประชาชนในท้องถิ่น ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนี่ง




   -   เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน

           เดิมเป็นเจดีย์เก่า อายุประมาณ 200 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2498 ได้ต่อเติมขึ้นใหม่ โดยเงินทุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระปลัดเขียน อัมมาพันธ์ นำดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน จากประเทศอินเดีย มาบรรจุไว้




   -   รอยพระพุทธบาทจำลอง

            จัดสร้างโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ในวันสงกรานต์ของทุกปี มีประชาชนในท้องถิ่นมาสรงน้ำเป็นจำนวนมาก

   -   พิพิธภัณฑ์ของโบราณ

            เป็นสถานที่รวบรวมของโบราณซึ่งเก็บและขุดมาได้จากดงเมืองเตย เมืองเก่าสมัยขอม ในพิพิธภัณฑ์นี้ มีเตียงบรรทมเจ้าเมือง (เป็นศิลา) และศิลาจารึกสันนิษฐานว่า เป็นอักษรขอมโบราณ

   -   ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย

            อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในบริเวณดงเมืองเตย มีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่า เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ-ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละ แสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียง ก็คงจะเคยเป็นเมืองที่มีชื่อว่า "ศังขะปุระ" ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะ เมืองในปกครองของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คือ อาณาจักรขอมในสมัยต่อมา ที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาดังกล่าว




กู่จาน

              สถานที่ตั้ง อยู่ ภายในวัดบ้านกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำ เขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร  ประวัติความเป็นมา เมื่อ พุทธศักราช หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จ ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลา ปี พระมหากัสสปะ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุลงแจกจ่ายในดินแถบ นี้ กลุ่มที่ได้มาคือพระยาคำแดงซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ กลุ่มพระยาพุทธซึ่งเป็น ผู้มีอำนาจทางฝ่ายใต้ไม่ได้รับพระบรม สารีริกธาตุจึงได้เดินทางไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากพระยาคำแดง พระยาคำแดงไม่อยาก ให้ทำเป็นพูดจาบ่ายเบี่ยง โดยท้าแข่งกัน ก่อสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุว่าใครจะเสร็จ ก่อน ถ้าใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของกัน และกัน แต่มีข้อแม้อยู่ว่าในการก่อ สร้างเจดีย์ครั้งนี้ต้องใช้คนอย่างมากไม่เกิน คน เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว พระ ยาพุทธก็เดินทางกลับมาประชุมเจ้าเมืองฝ่าย ใต้เพื่อทำการก่อสร้างพระธาตุกู่จาน ได้ คัดเลือกเอาแต่คนสนิท มีฝีมือ ได้แก่ พระยาพุทธ พระยาเขียว พระยาธรรม พระยาคำ พระยาแดง และพระยาคำใบ ส่วนนามของ ผู้สร้างพระธาตุพนมทราบเพียงท่านเดียวคือ พระ ยาคำแดงเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำ การก่อสร้างโดยไม่ให้ราษฎรเข้ามายุ่งเกี่ยว หากมีผู้ใดขัดขวางตัดคอทันที กลุ่มของพระยาพุทธ เมื่อทำการก่อสร้างไป ได้ครึ่งหนึ่ง กลัวว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วพระยา คำแดงจะไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ตาม ที่ได้ตกลงกันไว้และกลัวจะแพ้พระ ยาคำแดง จึงยกกองกำลังขึ้นไปแย่งชิง เอาพระสารีริกธาตุมาไว้ก่อนแล้วค่อยสร้างต่อไป จนเสร็จ แต่พระยาคำแดงได้วางมาตรการ คุ้มกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งหกคนบุกเข้ารบ อย่างดุเดือดแต่ก็ไม่สามารถเข้าโจมตีเข้า ไปถึงที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุได้ เนื่องจาก มีกำลังน้อยกว่า และพระยาคำได้เสียชีวิต เป็นอันว่าผู้สร้างพระธาตุกู่จานยังเหลือ เพียง คน เมื่อเห็นว่ามีกำลังน้อยกว่าคง สู้ต่อไปไม่ได้ จึงยกทัพกลับ เมื่อกลับ มาถึงก็ได้ทำการคัดเลือกผู้ที่มี ฝีมือ อยู่ยงคงกระพันยิงไม่เข้า ฟันไม่ เข้า รวบรวมได้หนึ่งหมื่นคนก็ยกกำลังไป ที่หัวเมืองฝ่ายเหนืออีก เพื่อแย่งชิงพระสารีริกธาตุ จากพระยาคำแดงเป็นครั้งที่ ครั้งนี้ ฝ่ายของพระยาพุทธก็ได้รับความผิดหวัง ทหารที่เกณฑ์ไปเสียชีวิตทั้งหมดเหลือรอดกลับ มามีแต่เจ้าเมืองทั้งห้าเท่านั้น เมื่อไม่ ประสบผลสำเร็จก็กลับมายังเมืองของตน เพื่อทำ การคัดเลือกทหารและวางแผนการใหม่ โดยแบ่ง กำลังออกเป็น ส่วนเท่ากัน ในส่วนของพระ ยาพุทธนั้นยังไม่เข้าโจมตีรอให้ทั้ง ฝ่ายนั้นเข้าโจมตีก่อนแล้วจึงเข้าโจม ตีด้านหลัง ทหารของพระยาคำแดงหลงกล ที่เห็นพระยาทั้ง เข้าตีด้านหน้า ก็ พากันออกมารับโดยไม่ระวังด้านหลัง พระ ยาพุธซึ่งคอยทีอยู่แล้วจึงได้พังประตู ด้านหลังเข้าไปยังที่เก็บรักษาพระสารีริกธาตุ ซึ่ง ได้บรรจุไว้ในผอบทองคำเขียนอักษรติดเอา ไว้ ซึ่งพระยาพุทธได้มาทั้งสิ้น ผอบ แต่ละชิ้นของพระสารีริกธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดงา พระยาทั้ง เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงพาท หารถอยกลับยังเมืองฝ่ายตน หลังจากนั้นจึง ทำการก่อสร้างเจดีย์จนกระทั่งสำเร็จและได้นำ เอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ผอบไปประดิษฐานไว้ใน เจดีย์เป็นที่เรียบร้อย แต่ในการสร้างพระเจดีย์ ครั้งนี้เป็นที่คับแค้นของเหล่าประชาราษฎร์ยิ่ง นัก เนื่องจากไม่ได้ร่วมก่อสร้าง ดังนั้นพระ ยาทั้งห้าจึงได้ปรึกษากันว่า พวกเราต้อง สร้างใหม่อีกแห่งหนึ่งเพื่อที่จะให้ราษฎรใน แต่ละหัวเมืองได้มีส่วนร่วมในการก่อ สร้าง แต่ในครั้งนี้ต้องสร้างเป็นวิหารเพื่อเป็น ที่เก็บสิ่งของและจารึกประวัติพระธาตุไว้ให้ ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เมื่อประชาชนในเมือง ต่าง ๆ ทราบข่าวต่างมีความยินดีที่จะ ได้ร่วมสร้างวิหาร ซึ่งวิหารนั้นจะต้องทำด้วย หินและหินนั้นต้องเป็นหินทะเล เมื่อตกลง กันแล้วพระยาทั้งห้าต่างก็แยกย้ายไป บอกข่าวแก่ประชาชนของตนให้ไปนำหิน จากทะเลมาก่อสร้างพระวิหารโดยจัดแบ่งเป็น กลุ่ม ๆ กันไปฝ่ายพระยาคำแดงหัว เมืองฝ่ายเหนือโกรธแค้นมาก และทราบว่าผู้ที่ มาแย่งชิงพระสารีริกธาตุเป็นผู้ใด จึงได้ยก กำลังกองทัพลงมายังหัวเมืองฝ่ายใต้เพื่อพิจารณา ขอร่วมสร้างด้วยเพราะรู้ว่าพระยาทั้ง ได้ไปแย่งชิงเอาพระสารีริกธาตุจากตนมาแล้ว แต่พระยาทั้งห้าไม่ยอมจึงเกิดการต่อ สู้กันขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากฝ่ายพระยา พุทธไม่ได้เตรียมกองกำลังป้องกันไว้จึงเสีย เปรียบ ผลปรากฏว่าพระยาทั้งหมดเสียชีวิตคือ พระยาคำแดงถูกพระยาพุทธฟันด้วยทวน คอขาด ส่วนพระยาฝ่ายใต้ก็เสียชีวิตทั้ง หมดเช่นกัน ศพทั้งหมดได้ถูกเผาและนำ มาฝังไว้ห่างจากพระธาตุกู่จานประมาณ 2 -เมตร ทั้ง ทิศ สนามรบครั้งนั้นก็ คือดอนกู่ในปัจจุบันซึ่งมีหินเรียงกันเป็น ชั้น ๆ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านกู่จาน ห่าง จากองค์พระธาตุกู่จานไปไม่มากนัก ส่วน ศพของพระยาคำแดงชาวเมืองได้ช่วยกัน เผาแล้วปั้นเป็นเทวรูปคอขาด ซึ่งปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปคอขาดได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมบูรณ์ พัฒนา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็น วัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านส่วนข้าวของเงินทองของพระยาคำแดง ซึ่งนำลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ และของ พระยาทั้งห้าของหัวเมืองฝ่ายใต้ ได้ถูก สาปให้จมธรณีเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใด ทำลายและนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว  ส่วนชาว เมืองหัวเมืองฝ่ายใต้ ที่พากันไปขนหิน ทะเลนั้นบางกลุ่มก็ยังไปไม่ถึงบางกลุ่ม ก็ไปถึง บางกลุ่มก็กลับมาถึงครึ่งทาง บางกลุ่มก็มาถึงแล้วแต่กลุ่มที่เดินทาง ไปก่อนหลังเมื่อทราบข่าวว่าเจ้าเมืองของตน ตายก็พากันทิ้งหินไว้ตามที่ต่าง ๆ ซึ่งเราเห็นอยู่หลายแห่ง  เมื่อดอนกู่ได้ เกิดศึกใหญ่มีคนตายมากมายชาวเมืองที่ เหลืออยู่เสียขวัญ ก็พากันอพยพถิ่นฐานไป หาที่สร้างเมืองใหม่ ปล่อยให้พระธาตุกู่จาน ถูกทอดทิ้งมาตั้งแต่บัดนั้น จนกลายเป็น ป่าทึบตามธรรมชาติเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานา ชนิด หลายต่อหลายชั่วอายุคนที่ไม่อาจนับ ได้ จนกระทั่งบรรพบุรุษที่เดินทางมาจากบ้าน ปรี่เชียงหมี มาพบเข้าได้เห็นดีที่จะ ตั้งหมู่บ้านเพราะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ ดินอุดมสมบูรณ์จึงตั้งหมู่บ้านขึ้นและถางป่า มาพบพระธาตุแต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ของพระธาตุ จนมาถึงปี . . 2521 จึงปรากฏว่ามี สามเณรถาวร อินกาย เกิด อภินิหารขึ้นเล่าประวัติของพระธาตุ ความสำคัญต่อ ชุมชน เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือนตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ กู่ หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระ พังเพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดัง กล่าวนี้ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อ ว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล และได้เกิด เหตุการณ์ที่ทำให้ความเชื่อนั้นยังคงมี ความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้นเมื่อได้เกิดเหตุการณ์ ดังกล่าวขึ้นแล้ว และต้องทำพิธีสรงน้ำพระ ธาตุ กู่ ใบเสมา อีกครั้งในปีนั้น เป็นเหตุ การณ์ที่ชาวบ้านกู่จานทุกคนรับทราบและ จดจำได้ดีจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็น ประจำ  ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง อยู่กลาง ลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุ พนมต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า  เส้นทางที่เข้าสู่พระธาตุ กู่จาน มีเส้นทางถนนลูกลังแยกจากถนน แจ้งสนิทระหว่างอำเภอคำเขื่อนแก้วกับจังหวัดอุบลราชธานี โดย มีจุดแยกข้างๆ สถานีพืชอาหารสัตว์ยโสธร ขึ้นไป ทางเหนือผ่านบ้านแหล่งแป้น บ้านโคกโก่ย เข้า สู่บ้านกู่จาน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร














พระพุทธบาทยโสธร
       พระพุทธบาทยโสธร ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตก 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 ห่างจากตัวจังหวัด 47 กม. พี้นที่ประดิษฐานรอยพุทธบาท เป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชี นับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริกได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1378 นอกจากนั้น ก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียง ไปนมัสการเป็นจำนวนมาก




หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
      หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ ตั้งอยู่ที่วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง หมู่ที่ 1ตำบลนาเวียง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นหอไตรเก่าแก่ สร้างมาประมาณร้อยกว่าปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าหรือไทยใหญ่ เป็นอาคารไม้ขนาดกว้าง 8.30 เมตร ยาว 10.50 เมตร หลังคามุมสังกะสี มีชายคายื่นทั้ง 4 ทิศ หลังคามี 4 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปมีประตูด้านหน้า 1 ช่อง บานประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม แกะสลักอย่างประณีตงดงามตามแบบฉบับโบราณ นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเลยก็ว่าได้ ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแต่โบราณสร้างอยู่กลางสระน้ำ


โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้(วัดอัครเทวดามิคาแอล)
      อยู่ที่บ้านหนองซ่งแย้ หมู่ ๒ ตำบลคำเตย ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ ๔๕ กิโลเมตร    (ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๖๙  ยโสธร- เลิงนกทา)   เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว Unseen in Thailand  เป็นโบสถ์คริสต์ที่สร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ ใช้เสาไม้ทั้งเล็กและใหญ่ เกือบ  ๓๐๐  ต้น และไม้มุงหลังคา ๘๐,๐๐๐ แผ่น  เป็นโบสถ์คริสต์สร้างด้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุกว่า ๕๐ ปี  และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา ทางจังหวัดยโสธร ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาว ในวันวาเลนไทน์ของทุกปี ที่โบสถ์แห่งนี้ด้วย



------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร




ตำนานบุญบั้งไฟ
     ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 เดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์ 
2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว 
3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้


งานประเพณีบุญบั้งไฟเมืองยโสธรในปี พ.ศ. 2555